phone x
+66-63-654-0999
line x
email x
morningmindcounseling@gmail.com
จิตวิทยาความรัก(Psychology of Love) - Morning Mind Clinic & Counseling Center

จิตวิทยาความรัก(Psychology of Love)



วาเลนไทน์, ชีวิตคู่, คู่สมรสบำบัด, จิตวิทยาเรื่องความรัก, ความสัมพันธ์ที่ดี,วิธีประคองชีวิตคู่

การทำงานของสมองเกี่ยวกับความรัก,สมอง,วาเลนไทน์, ชีวิตคู่, คู่สมรสบำบัด, จิตวิทยาเรื่องความรัก, ความสัมพันธ์ที่ดี,วิธีประคองชีวิตคู่
วาเลนไทน์, ชีวิตคู่, คู่สมรสบำบัด, จิตวิทยาเรื่องความรัก, ความสัมพันธ์ที่ดี,วิธีประคองชีวิตคู่, ความรักแบ่งเป็นกี่ประเภท

ความรัก มีองค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่

1.รักหวานชื่น(Passion)
2.รักผูกพัน(Intimacy)
3.พันธะสัญญา(Commitment)

เรามาทำความเข้าใจแต่ละข้อกันค่ะ

1.รักหวานชื่น(Passion) ก็คือ รักแบบโรแมนติก หลงใหล มีแรงดึงดูดทางเพศต่อกัน ถ้าเป็นชีวิตคู่อันนี้จะเกิดในช่วงแรกที่ตกหลุมรักกัน ทุกอย่างดูหวานชื่นไปหมด อยากอยู่ใกล้กันตลอดเวลา ใครที่เคยมีประสบการณ์รักหวานชื่นแบบนี้ เข้าใจดีแน่นอนค่ะ

2.รักผูกพัน(Intimacy) ก็คือ ความผูกพันที่เกิดขึ้นเมื่อได้ร่วมทุกข์ร่วมสุข อยู่ด้วยกันมานานหลายปี อยู่เป็นเพื่อนกัน อาจจะไม่ได้รักหวานชื่นเหมือนแบบแรก อาจจะดูเฉยๆชินๆกัน แต่ลองอีกฝ่ายหายไปจากชีวิตก็จะคิดถึงกันมาก รักแบบผูกพันนี้จะเกิดขึ้นเมื่อได้มาใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน แต่งงาน มีลูก ช่วยกันเลี้ยงลูก ช่วยกันทำมาหากิน ทะเลาะกันแล้วก็ดีกันรอบแล้วรอบเล่า แม้รักหวานชื่นรสหวานจะจางไปมาก แต่ความผูกพันนี่เองจะเข้ามาแทนที่ และยิ่งนานยิ่งผูกพันกันลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ

3.พันธะสัญญา(Commitment) ก็คือ การที่ทั้งสองฝ่ายมีสัญญา มีข้อตกลงที่จะทำให้สำเร็จร่วมกัน เช่น สัญญาว่าจะรักกัน ไม่นอกใจกันไปตลอดชีวิต ในงานแต่งงานเจ้าบ่าวอาจพูดให้สัญญากับเจ้าสาวต่อหน้าทุกคนว่าจะรักมั่นและทำให้เธอมีความสุข สำหรับคู่ที่ยังเป็นแฟนกัน พันธะสัญญาอาจหมายถึงการรับปากว่าฉันแต่งงานกับเธอแน่ในอนาคต ในบางคู่ที่แต่งงานกันเพื่อการเมืองหรือผลประโยชน์ทางธุรกิจ ก็เป็นพันธะสัญญาแบบหนึ่ง

…ความรักที่สมบูรณ์พร้อม คือ ความรักที่มีครบทั้ง 3 ข้อในสัดส่วนที่สมดุลย์… คู่รักคู่ไหนที่สามารถมีทั้งสามข้อได้ย่อมมีชีวิตรักที่มีความหวังและมีความสุข

ปัญหาของชีวิตคู่ ก็เกิดจากการขาดข้อใดข้อหนึ่ง หรือขาดหลายข้อ ตัวอย่างเช่น 

  • ❤️ A และ B มีรักหวานชื่นและอยู่กันมานานจนผูกพันกัน A ก็ได้แต่เฝ้ารอว่าเมื่อไหร่ B จะขอแต่งงานลงหลักปักฐานสักที แต่สำหรับ B แล้ว อยากอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ อยู่กับปัจจุบัน ไม่เห็นความจำเป็นว่าจะต้องวางแผนอนาคต กรณีนี้ก็คือ A นั้นคาดหวังเรื่อง commitment แต่ B ยังไม่มีตรงจุดนี้ ปัญหาชีวิตคู่จึงเกิดขึ้น
  • ❤️ C และ D ได้พบกันในงานเลี้ยงและตกหลุมรักกันในทันที มันเป็นรักที่โรแมนติกสวีทมาก เพียงหนึ่งเดือนทั้งคู่ตัดสินใจแต่งงานกัน สัญญาว่าจะรักกันตลอดไป แต่พอได้มาใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ทุกอย่างกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด ครอบครัวทั้งสองฝ่ายก็เข้ากันไม่ค่อยได้ ฐานะหน้าที่การงานก็ค่อนข้างต่างกัน ความรักแบบหลงใหลทำให้ทั้งคู่มีความคาดหวังต่อกันมาก มีการน้อยใจ งอนง้อ สิ้นเปลืองพลังทางอารมณ์ทุกๆวัน ที่สำคัญทั้งคู่ไม่ยอมถอยกันคนละก้าวเพื่อปรับตัวเข้าหากัน จึงอยู่ด้วยกันในระยะยาวไม่ได้ เพียงครึ่งปีก็ต้องเลิกกันไป กรณีนี้สิ่งที่ทั้งคู่ขาดไปก็คือความผูกพันกัน

หวังว่าเนื้อหาในวันนี้จะเป็นประโยชน์ ลองทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้กับชีวิตรักของทุกท่านดูนะคะ หากมีปัญหาชีวิตคู่ ขอให้แก้ปัญหาด้วยสติและความอดทน อาจลองนัดมาทำคู่สมรสบำบัด(Couple Therapy) กับนักบำบัดได้ค่ะ ขอให้ทุกท่านมีความรักอย่างมีความสุขค่ะ

ขอขอบคุณเนื้อหาจากคุณหมอช้าง
อ้างอิงจาก Triangular Theory of Love ของ Robert Steinberg ค่ะ

Related Post