phone x
+66-63-654-0999
line x
email x
morningmindcounseling@gmail.com
รู้จัก PTSD (Post Traumatic Stress Disorder) คืออะไร - Morning Mind Clinic & Counseling Center
Morning Mind Clinic & Counseling Center โรคจิตเวช รู้จัก PTSD (Post Traumatic Stress Disorder) คืออะไร

รู้จัก PTSD (Post Traumatic Stress Disorder) คืออะไร



ภาวะโรคนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ประสบกับเหตุการณ์รุนแรงเป็นที่น่าสะเทือนขวัญสำหรับคนผู้นั้น ถ้าอาการเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 1 เดือนจะเรียกว่า acute stress disorder แต่ถ้า อาการนานมากกว่า 1 เดือนขึ้นไปแล้วถึงจะเรียกว่า PTSD

อาการ 3 ด้านหลัก

  1. Re-experience : รู้สึกเหมือนกลับเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ อาจตอนตื่นหรือฝันระหว่างหลับ
  2. Avoidance : พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เตือนใจถึงเหตุการณ์นั้น เช่นสถานที่ สิ่งของ บุคคล
  3. Hypervigilance : มีอาการไวขึ้นของระบบประสาท เช่นตื่นผวาง่าย สะดุ้งบ่อยๆ เหงื่อแตก ลุกลี้ลุกลน ระแวดระวังตลอดเวลา

ที่พบร่วมได้ คือนอกจากอาการเข้าเกณฑ์วินิจฉัยของ PTSD ครบแล้วยังมีอาการ “Dissociation” คือมีอย่างน้อย 1 ใน 2 ข้อต่อไปนี้เมื่อถูกสิ่งกระตุ้นให้นึกถึงเหตุการณ์

  1. Depersonalization รู้สึกเหมือนตัวเองแยกร่างเป็นอีกคนหนึ่งเพื่อที่จะได้ไม่รับรู้ว่าสิ่งรุนแรงนั้นเกิดขึ้นกับตัวเอง เหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความฝันหรือดูภาพยนตร์
  2. Derealization รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวดูผิด
    แปลกไปไม่สมจริง สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนไม่ใช่ความจริง

“Delayed” PTSD คือบางคนกว่าอาการจะปรากฎจนครบเกณฑ์วินิจฉัยอาจกินเวลานานมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ถึงแม้ว่าจะเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงหลังเกิดเหตุการณ์ใหม่ๆก็ตาม

เกณฑ์วินิจฉัย : ต้องมีครบข้อ A-H

A เผชิญหน้ากับ : ความตาย/เกือบตาย/บาดเจ็บสาหัส/ความรุนแรง/คุกคามทางเพศ ทั้ง

  • เผชิญเหตุการณ์โดยตรง
  • เป็นพยานในเหตุการณ์
  • รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดกับครอบครัวหรือคนสนิท
  • รับรู้รายละเอียดของเหตุการณ์ที่รุนแรง มักเกิดกับคนทำงานที่เกี่ยวข้อง เช่นหน่วยกู้ภัย ตำรวจ

B มีอาการที่เสมือนกลับไปอยู่ในเหตุการณ์อย่างน้อย 1 ข้อ จากต่อไปนี้

  • มักระลึกถึงเหตุการณ์นั้นผุดขึ้นมาเองบ่อยๆโดยควบคุมไม่ได้
  • ฝันร้ายซ้ำๆเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
  • บางทีเห็นภาพ/ได้กลิ่น/ได้ยินเสียง/มีปฏิกิริยาทางร่างกายเหมือนกลับเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้น
  • มีความรู้สึกทางอารมณ์ที่เหมือนกลับเข้าไปเผชิญกับเหตุการณ์นั้นขึ้นมาซ้ำๆเมื่อพบเจอสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่ อาวุธ ฯลฯ

C มีพฤติกรรมพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เตือนใจถึงเหตุการณ์นั้น เช่น

  • พยายามจะตัดความคิด/อารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นออกไป
  • หลีกเลี่ยงออกห่างจากการเข้าใกล้บุคคล/สถานที่/สิ่งของ/สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องหรือคล้ายคลึงเหตุการณ์นั้น

D มีความคิด/อารมณ์เชิงลบที่เกิดขึ้นมาหลังจาก

  • เกิดเหตุการณ์นั้นอย่างน้อย 2 ข้อจากต่อไปนี้
  • จำส่วนสำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ (เกิดจากกลไกป้องกันตัว)
  • กลายเป็นคนมองตัวเอง/คนอื่นและโลกแง่ร้าย คาดว่าจะต้องเกิดแต่เรื่องร้ายๆขึ้น
  • โทษตนเองหรือผู้อื่นมากไปสำหรับเหตุการณ์นั้น
  • มีอารมณ์เชิงลบเกิดขึ้นต่อเนื่อง เช่นอับอาย โกรธแค้น รู้สึกผิด รู้สึกกลัว
  • เลิกสนใจเข้าสังคมทำกิจกรรมต่างๆ
  • รู้สึกว่าตัวเองแปลกแยกจากผู้อื่น
  • หมดความรู้สึกผาสุกในชีวิต ไม่สามารถสัมผัสอารมณ์เชิงบวกได้อีก

E มีอาการตื่นตัว ตอบสนองไว ผวาง่ายหลังจากเกิดเหตุการณ์ อย่างน้อย 2 ข้อจากต่อไปนี้

  • หงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าวขึ้น
  • มีพฤติกรรมเสี่ยงภัย บ้าระห่ำ ทำลายตนเอง
  • ดูระแวดระวังภัยตลอดเวลา
  • กลายเป็นคนขี้ตกใจ สะดุ้งง่าย
  • สมาธิแย่ลงมาก
  • มีปัญหาการนอน นอนไม่หลับ นอนไม่อิ่ม หลับๆตื่นๆ ฝันร้าย

F อาการข้อ B-Eนานเกิน 1 เดือนขึ้นไป

G อาการทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเป็นทุกข์ เกิดความบกพร่องทั้งหน้าที่การงาน/การเรียน /การเข้าสังคมและความสัมพันธ์เสียหายไป

H อาการไม่ได้เกิดจากการใช้ยา/สารเคมี/โรคอื่นๆ

หมายเหตุ*

ในเด็กอายุไม่เกิน 6 ขวบ อาจสังเกตจากการเล่นซ้ำๆถึงเรื่องราวของเหตุการณ์รุนแรงนั้นหรืออาการผวาฝันร้ายตอนนอน

การรักษา Rx

• จิตบำบัด
  • EMDR
  • CBT
• ยา

Related Post